Materials & Application
HEMP THAI ผ้าทอใยกัญชง
หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจเมื่อปี 2548 “กัญชง” (Hemp) ที่เคยเป็นพืชต้องห้ามและถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ เนื่องด้วยคุณสมบัติพิเศษจากเส้นใยกัญชงเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพสูงเหมาะกับการนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
ในเชิงวัฒนธรรม การปลูกต้นกัญชงนับเป็นประเพณีและวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับชาวม้งตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุขัย ชาวม้งมักนำเส้นใยกัญชงมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน หรือทำเป็นรองเท้าไว้ใช้ยามเดินทางในป่าเพื่ออพยพย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากสามารถป้องกันสัตว์มีพิษกัดต่อยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ ชาวม้งจึงทำการปลูกต้นกัญชงเพื่อนำเส้นใยมาใช้ประโยชน์เป็นประจำทุกๆ ปี นอกจากนี้ผ้าทอใยกัญชงยังเปรียบเสมือนทองคำที่พ่อแม่มอบให้กับลูกสาวไว้ติดตัวไปตอนออกเรือน และเมื่อถึงอายุ 40 ปี ชาวม้งจะมีการเตรียมชุดที่ทอจากใยกัญชงไว้ใส่ในพิธีกรรมตอนเสียชีวิต ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวก็ยังคงมีการปฏิบัติสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้
ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ทำให้ ดวงฤทัย ภูมิพิเชฐ เจ้าของบริษัท ดี ดี เนเจอร์ คราฟท์ (DD Nature Craft) หรือเป็นที่รู้จักในแบรนด์ Hemp Thai เริ่มบุกเบิกธุรกิจผ้าทอจากกัญชงอินทรีย์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ด้วยการทำไร่กัญชงและโรงงานผลิตผ้าจากใยกัญชงร่วมกับชาวบ้านเผ่าม้งในเชียงใหม่และเชียงราย เพื่อควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำไปพร้อมๆ กับการประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของใยกัญชงกับผู้บริโภคให้ปรับทัศนคติที่มีต่อกัญชงมารับรู้ถึงประโยชน์ใช้สอยในแง่ของวัสดุ โดยเฉพาะคุณลักษณะเด่นด้านความเหนียว ทนทาน ไม่อับชื้น ปราศจากเชื้อราและแบคทีเรีย ป้องกันรังสียูวี โดยธรรมชาติ และสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 170 องศาเซลเซียสโดยไม่มีส่วนผสมของสารเคมี ทั้งยังสามารถนำมาย้อมสีธรรมชาติได้ทุกสีสันตามความต้องการ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และหันมาเลือกใช้สินค้าที่ผลิตจากกัญชงอินทรีย์ซึ่งมักนำมาผลิตเป็นกระเป๋า รองเท้า หรือเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ Hemp Thai ยังผลิตสินค้าโดยเน้นแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพยายามรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวม้งในฐานะทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการสืบทอดลายจักสานอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวม้งมาเป็นลวดลายหลักของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพให้แก่คนท้องถิ่นในการดูแลไร่กัญชงของบริษัท ขณะที่สินค้าทุกชิ้นยังผ่านกระบวนการผลิตที่เน้นการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยที่สุด (Zero Waste Concept) เช่น การตัดเย็บให้มีตะเข็บน้อยที่สุด ลดการตัดทิ้งของเศษผ้า และมีความพยายามใช้งานทุกส่วนของต้นกัญชง นอกเหนือจากเส้นใย อาทิ การนำยางและเปลือกของต้นกัญชงมาสกัดรวมกับยางพารา เพื่อลดการใช้ยางพาราและลดการทิ้งวัตถุดิบโดยเสียเปล่า เพื่อให้ทุกกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ทำให้ ดวงฤทัย ภูมิพิเชฐ เจ้าของบริษัท ดี ดี เนเจอร์ คราฟท์ (DD Nature Craft) หรือเป็นที่รู้จักในแบรนด์ Hemp Thai เริ่มบุกเบิกธุรกิจผ้าทอจากกัญชงอินทรีย์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ด้วยการทำไร่กัญชงและโรงงานผลิตผ้าจากใยกัญชงร่วมกับชาวบ้านเผ่าม้งในเชียงใหม่และเชียงราย เพื่อควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำไปพร้อมๆ กับการประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของใยกัญชงกับผู้บริโภคให้ปรับทัศนคติที่มีต่อกัญชงมารับรู้ถึงประโยชน์ใช้สอยในแง่ของวัสดุ โดยเฉพาะคุณลักษณะเด่นด้านความเหนียว ทนทาน ไม่อับชื้น ปราศจากเชื้อราและแบคทีเรีย ป้องกันรังสียูวี โดยธรรมชาติ และสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 170 องศาเซลเซียสโดยไม่มีส่วนผสมของสารเคมี ทั้งยังสามารถนำมาย้อมสีธรรมชาติได้ทุกสีสันตามความต้องการ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และหันมาเลือกใช้สินค้าที่ผลิตจากกัญชงอินทรีย์ซึ่งมักนำมาผลิตเป็นกระเป๋า รองเท้า หรือเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ Hemp Thai ยังผลิตสินค้าโดยเน้นแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพยายามรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวม้งในฐานะทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการสืบทอดลายจักสานอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวม้งมาเป็นลวดลายหลักของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพให้แก่คนท้องถิ่นในการดูแลไร่กัญชงของบริษัท ขณะที่สินค้าทุกชิ้นยังผ่านกระบวนการผลิตที่เน้นการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยที่สุด (Zero Waste Concept) เช่น การตัดเย็บให้มีตะเข็บน้อยที่สุด ลดการตัดทิ้งของเศษผ้า และมีความพยายามใช้งานทุกส่วนของต้นกัญชง นอกเหนือจากเส้นใย อาทิ การนำยางและเปลือกของต้นกัญชงมาสกัดรวมกับยางพารา เพื่อลดการใช้ยางพาราและลดการทิ้งวัตถุดิบโดยเสียเปล่า เพื่อให้ทุกกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ดูตัวอย่างวัสดุและขอข้อมูลวัสดุเพิ่มเติมได้ที่ Material ConneXion® Bangkok โทร. 02-664-8448 ต่อ 225
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ที่มา
hempthai.com
materialconnexion.com
6 - 14 December 2014
Chiang Mai Design Week 2014
www.chiangmaidesignweek.com