Materials & Application
MATERIALS IN CONSERVATION
การบูรณะจิตรกรรมฝาผนัง ณ โบสถ์ซิสทีนชาเปลแห่งนครรัฐวาติกัน อันเป็นผลงานชิ้นเอกของมิเกลันเจโล นับเป็นโครงการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังภายในที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการเก็บรายละเอียดขั้นตอนการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ ทั้งการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและการถ่ายภาพตามคู่มือ "กฎสำหรับการปฏิสังขรณ์งานศิลปะ (Rules for restoration of works of art)" เขียนโดยคาร์โล ปิเอตรันเจลิ ผู้อำนวยการห้องทดลองของวาติกัน เพื่อใช้ในการบูรณะงานจิตรกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลของจิตรกรรมโดยการสอบถามผู้มีส่วนร่วมในการซ่อมแซมเมื่อปี 1930 รวมถึงการเก็บข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ อันเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการอนุรักษ์ให้ยังคงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลพบว่าพื้นผนังและเพดานทั้งหมดของโบสถ์ถูกเคลือบด้วยควันเทียนที่ประกอบด้วยขี้ผึ้งและเขม่าไฟ ส่วนเหนือหน้าต่างและเพดานรูปโค้งพระจันทร์ครึ่งซีกได้รับความเสียหายจากควันและไอเสียจากการจราจรในกรุงโรม ขั้นตอนแรกของการบูรณะจึงเป็นการแปะพลาสเตอร์หนาราว 5 มม. บริเวณจิตรกรรมในส่วนที่ลอกร่อนให้ยึดกลับเข้าไปใหม่ ซึ่งทำโดยการฉีดโพลีไวนิล แอลกอฮอล์ (Polyvinyl Alcohol, PVA) เพื่อยึดพลาสเตอร์ จากนั้นใช้การอุดและการเขียนเสริม (Retouching) หรือเขียนใหม่ (Repainting) และทำความสะอาดพื้นผิวตามประเภทของสิ่งสกปรก เช่น การตกผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนต จะใช้น้ำกลั่นและน้ำยาไดเมทิลฟอร์มาไมด์ (Dimethylformamide) ก่อนเคลือบด้วยน้ำยาจากอะคริลิก โพลิเมอร์ (Acrylic Polymer) เพื่อผสานและรักษาผลงาน หลังบูรณะเสร็จสิ้น โบสถ์ได้ปิดหน้าต่างทั้งหมดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศและไอเสียเข้ามาบริเวณภายใน พร้อมติดตั้งระบบปรับอากาศเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นให้คงที่
การตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่สามารถทำได้ในหลายมิติ ตั้งแต่การสร้างงานสถาปัตยกรรมลงบนพื้นที่ว่างเปล่า แต่เมื่อไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่ยั่งยืน การอนุรักษ์จึงเป็นงานต่อเนื่องที่ต้องทำหลังจากนั้น โดยวัสดุถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่จะคงผลงานล้ำค่าต่างๆ ให้คงอยู่ยาวนานต่อไป
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
พบกับวัสดุต้นคิดที่เกี่ยวข้อง ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok
ผลิตโดย MC# 5476-01 I พลาสเตอร์สีขาวซึ่งสามารถทำความสะอาดและทำให้อากาศโดย รอบบริสุทธิ์ ทำจากยิปซ สามารถฉาบด้วยมือหรือใช้เครื่องพ่น มีสองผิวสัมผัสให้เลือกคือ ผิวขรุขระและผิวคลื่นน้ำ ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี Photocatalysis (ใช้สารไททาเนียมไดออกไซด์) ทำให้เนื้อพลาสเตอร์ทำปฏิกิริยากับแสงธรรมชาติหรือแสงสังเคราะห์ในการลดสาร ระเหยอินทรีย์ (VOCs) มลพิษและกลิ่นไม่พึงประสงค์ในอากาศ และคงคุณสมบัติโดยที่ไม่ลดประสิทธิภาพเมื่อเวลาผ่านไป สามารถใช้ได้ทั้งในการบูรณะปรับปรุงอาคารเก่าและใช้ภายในอาคารใหม่ หรือใช้ทาสีเพดาน
วอลเปเปอร์ลายไทย หมายเลขวัสดุ MC# 6907-01 I ผลิตโดย Md2 Design Co., Ltd. ประเทศไทย วัสดุปูผนังที่ประกอบด้วยกระดาษ 30% และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) 70% ผลิตโดยนำแผ่นกระดาษมาเคลือบผิวหน้าด้วยโพลีไวนิลคลอไรด์ ทาสีและกดพิมพ์ลายนูนหรือลายร่องลึกเพื่อให้เกิดความสวยงาม มีสีสันและลวดลายให้เลือกหลากหลาย สีไม่ซีดจาง ล้างทำความสะอาดได้ และมีคุณสมบัติตามมาตรฐานต่างๆ ได้แก่ 16 CFR 1500 (US Federal Hazardous Substance Act), US Government 15: 1261, ASTM F963-96A, item 4.3.6 (USP61), และ Cal Prop 65 เหมาะสำหรับใช้ปูผนังภายในที่พักอาศัย โรงแรม ภัตตาคาร และโบราณสถานต่างๆ |
ที่มา
ceramicaimage.com
fischerarthistory.com
วิกิพีเดีย