Technology & Innovation
WWF SPECIES TRACKER ศึกครั้งใหม่ของนักอนุรักษ์
50 กว่าปีที่องค์การอนุรักษ์ "กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature: WWF)" ได้เดินหน้าวางนโยบายและเคลื่อนไหวกิจกรรมเชิงอนุรักษ์เพื่อคุ้มครองสัตว์ป่า ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นสรรหาวิถีทางให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสันติสุข ท่ามกลางปัญหาใหญ่ที่ยังน่าเป็นห่วงอย่างความคิดที่ว่าการคุ้มครองสัตว์ป่าและดูแลรักษาธรรมชาติเป็นหน้าที่ของกลุ่มคนเพียงหยิบมือ ขณะที่การคุกคามธรรมชาติกลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที
"เราเรียนรู้มากขึ้นว่าการค้าสัตว์ป่าทุกวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยความต้องการของชนชั้นกลางใหม่ที่กำลังเพิ่มขึ้นในจีน ไทย เวียดนาม หรือกระทั่งอเมริกาเองก็ตาม รูปแบบการก่ออาชญกรรมก็ซับซ้อนกว่าที่ผ่านมา และกลุ่มคนเหล่านี้มีเงินทุน อาวุธ และเทคโนโลยีล้ำสมัยอยู่ในมือทั้งสิ้น" คาร์เตอร์ โรเบิร์ตส์ (Carter Roberts) ประธานและซีอีโอแห่ง WWF – สหรัฐฯ ได้ให้สัมภาษณ์ทางบล็อก ‘ฟิวเจอร์ เทนส์’ (Future Tense) ของนิตยสารสเลต (Slate) ไว้เมื่อปี 2013 และไขข้อสงสัยว่าทำไม WWF จำต้องใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อต่อกรกับการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งคาดการณ์และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศแบบเฉียบพลันในศตวรรษนี้
จึงเป็นที่มาของ "WWF Species Tracker" โปรเจ็กต์ที่คิดการใหญ่ นำผลรายงานการติดตามสัตว์ป่าทั้ง 6 ชนิด จากทีมศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การ ประกอบไปด้วย หมีขั้วโลก (Polar Bear) วาฬหัวคันศร (Bowhead whale) วาฬนาร์วาล (Narwhale) เต่าทะเล (Marine turtle) ปลาทูน่า (Tuna) และเสือจากัวร์ (Jaguar) เผยแพร่สู่สาธารณะทางเว็บไซต์ wwfgap.org/tracker โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทกูเกิล (Google) ที่เข้ามาพัฒนาโปรแกรมต่อประสานกับกูเกิล แม็ปส์ (Google Maps) เพื่อให้ครอบคลุมตำแหน่งของสัตว์ทุกตัวที่อยู่ภายใต้การติดตามของ WWF ในทุกพื้นที่ทั่วโลก พร้อมเชื่อมต่อกับข้อมูล ภาพถ่าย และคลิปวิดีโอนั่นหมายความว่า ณ ตอนนี้ เราสามารถศึกษาพฤติกรรมของหมีขั้วโลกในอาร์กติก และติดตามวาฬหัวคันศรที่แคนาดาในวินาทีถัดไปได้ทันที นับเป็นการเปิดให้ชาวไซเบอร์ได้สำรวจความมหัศจรรย์ที่น่าหลงใหลของสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์แบบเรียลไทม์ได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเฝ้าสังเกตการณ์ระบบนิเวศทั้งหมด กระทั่งในป่าดิบชื้นขนาดยักษ์อย่างแอมะซอน ขณะเดียวกันโปรเจ็กต์นี้ยังทำหน้าที่เป็นมอนิเตอร์ตรวจตราและเฝ้าระวังภัยจากเหล่านักล่าและค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายด้วยอีกแรง
นับตั้งแต่ปี 2003 องค์การได้เริ่มปฏิบัติการอนุรักษ์หมีขั้วโลกด้วยการติดตั้งแผงคอพร้อมระบบติดตามเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์ ทั้งยังช่วยคลี่คลายข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหมีขั้วโลกได้จริง โดยทาง WWF ได้เข้าไปจัดเตรียมตู้เสบียงอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าหมีขั้วโลกที่กำลังอพยพเข้ามารุกรานถิ่นอาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน จัดตั้งหน่วยลาดตระเวนขึ้นมาดูแลความสงบโดยเฉพาะ และโปรเจ็กต์นี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาการเปลี่ยนของสภาพอากาศจากวิถีการอพยพของเจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์นี้อีกด้วย
ประวัติศาสตร์แห่งความผิดพลาดของมนุษย์ย้ำเตือนมาโดยตลอดว่า หากอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพตกอยู่ในมือของศัตรูหรือถูกใช้ในทางที่ผิดก็อาจย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ ในปี 2013 นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิก รายงานว่ามีบุคคลนิรนามพยายามแฮ็กอีเมลของหัวหน้าผู้ตรวจการณ์ประจำศูนย์อนุรักษ์เสือ “Panna Tiger Reserve” ในอินเดีย ซึ่งมีข้อมูลของเสือโคร่งเบงกอลตัวผู้ที่ถูกติดตามด้วยเครื่องส่งสัญญาดาวเทียม แต่กลับล้มเหลวเพราะระบบป้องกันความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์แจ้งเตือนได้ทัน ทั้งนักอนุรักษ์ สื่อมวลชน และสาธารณชนต่างลุกฮือขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเกรงว่าสุดท้ายแล้วเทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับการกอบโกยช่วงชิงผลประโยชน์ของเหล่านักล่าในโลกไซเบอร์ (Cyber Poachers) ซึ่งแปลว่าการก่ออาชญากรรมมีแนวโน้มจะอุกอาจยิ่งขึ้น กระทั่งอาจเร่งกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการค้าสัตว์ป่าบนโลกออนไลน์ขยายขอบเขตไปอย่างไร้พรมแดนเป็นแน่ แต่อีกนัยหนึ่ง เราต่างปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์ล้ำสมัยเหล่านี้เองมีบทบาทมหาศาลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นหัวใจของการอยู่รอดของวัฏจักรชีวิตทุกสายพันธุ์
แล้วเมื่อไรกันที่มนุษย์จะเรียนรู้ว่าอนาคตที่ปราศจากธรรมชาติ เราต่างก็เป็นฝ่ายปราชัยกันทั้งสิ้น
"เราเรียนรู้มากขึ้นว่าการค้าสัตว์ป่าทุกวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยความต้องการของชนชั้นกลางใหม่ที่กำลังเพิ่มขึ้นในจีน ไทย เวียดนาม หรือกระทั่งอเมริกาเองก็ตาม รูปแบบการก่ออาชญกรรมก็ซับซ้อนกว่าที่ผ่านมา และกลุ่มคนเหล่านี้มีเงินทุน อาวุธ และเทคโนโลยีล้ำสมัยอยู่ในมือทั้งสิ้น" คาร์เตอร์ โรเบิร์ตส์ (Carter Roberts) ประธานและซีอีโอแห่ง WWF – สหรัฐฯ ได้ให้สัมภาษณ์ทางบล็อก ‘ฟิวเจอร์ เทนส์’ (Future Tense) ของนิตยสารสเลต (Slate) ไว้เมื่อปี 2013 และไขข้อสงสัยว่าทำไม WWF จำต้องใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อต่อกรกับการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งคาดการณ์และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศแบบเฉียบพลันในศตวรรษนี้
จึงเป็นที่มาของ "WWF Species Tracker" โปรเจ็กต์ที่คิดการใหญ่ นำผลรายงานการติดตามสัตว์ป่าทั้ง 6 ชนิด จากทีมศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การ ประกอบไปด้วย หมีขั้วโลก (Polar Bear) วาฬหัวคันศร (Bowhead whale) วาฬนาร์วาล (Narwhale) เต่าทะเล (Marine turtle) ปลาทูน่า (Tuna) และเสือจากัวร์ (Jaguar) เผยแพร่สู่สาธารณะทางเว็บไซต์ wwfgap.org/tracker โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทกูเกิล (Google) ที่เข้ามาพัฒนาโปรแกรมต่อประสานกับกูเกิล แม็ปส์ (Google Maps) เพื่อให้ครอบคลุมตำแหน่งของสัตว์ทุกตัวที่อยู่ภายใต้การติดตามของ WWF ในทุกพื้นที่ทั่วโลก พร้อมเชื่อมต่อกับข้อมูล ภาพถ่าย และคลิปวิดีโอนั่นหมายความว่า ณ ตอนนี้ เราสามารถศึกษาพฤติกรรมของหมีขั้วโลกในอาร์กติก และติดตามวาฬหัวคันศรที่แคนาดาในวินาทีถัดไปได้ทันที นับเป็นการเปิดให้ชาวไซเบอร์ได้สำรวจความมหัศจรรย์ที่น่าหลงใหลของสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์แบบเรียลไทม์ได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเฝ้าสังเกตการณ์ระบบนิเวศทั้งหมด กระทั่งในป่าดิบชื้นขนาดยักษ์อย่างแอมะซอน ขณะเดียวกันโปรเจ็กต์นี้ยังทำหน้าที่เป็นมอนิเตอร์ตรวจตราและเฝ้าระวังภัยจากเหล่านักล่าและค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายด้วยอีกแรง
นับตั้งแต่ปี 2003 องค์การได้เริ่มปฏิบัติการอนุรักษ์หมีขั้วโลกด้วยการติดตั้งแผงคอพร้อมระบบติดตามเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์ ทั้งยังช่วยคลี่คลายข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหมีขั้วโลกได้จริง โดยทาง WWF ได้เข้าไปจัดเตรียมตู้เสบียงอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าหมีขั้วโลกที่กำลังอพยพเข้ามารุกรานถิ่นอาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน จัดตั้งหน่วยลาดตระเวนขึ้นมาดูแลความสงบโดยเฉพาะ และโปรเจ็กต์นี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาการเปลี่ยนของสภาพอากาศจากวิถีการอพยพของเจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์นี้อีกด้วย
ประวัติศาสตร์แห่งความผิดพลาดของมนุษย์ย้ำเตือนมาโดยตลอดว่า หากอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพตกอยู่ในมือของศัตรูหรือถูกใช้ในทางที่ผิดก็อาจย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ ในปี 2013 นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิก รายงานว่ามีบุคคลนิรนามพยายามแฮ็กอีเมลของหัวหน้าผู้ตรวจการณ์ประจำศูนย์อนุรักษ์เสือ “Panna Tiger Reserve” ในอินเดีย ซึ่งมีข้อมูลของเสือโคร่งเบงกอลตัวผู้ที่ถูกติดตามด้วยเครื่องส่งสัญญาดาวเทียม แต่กลับล้มเหลวเพราะระบบป้องกันความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์แจ้งเตือนได้ทัน ทั้งนักอนุรักษ์ สื่อมวลชน และสาธารณชนต่างลุกฮือขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเกรงว่าสุดท้ายแล้วเทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับการกอบโกยช่วงชิงผลประโยชน์ของเหล่านักล่าในโลกไซเบอร์ (Cyber Poachers) ซึ่งแปลว่าการก่ออาชญากรรมมีแนวโน้มจะอุกอาจยิ่งขึ้น กระทั่งอาจเร่งกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการค้าสัตว์ป่าบนโลกออนไลน์ขยายขอบเขตไปอย่างไร้พรมแดนเป็นแน่ แต่อีกนัยหนึ่ง เราต่างปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์ล้ำสมัยเหล่านี้เองมีบทบาทมหาศาลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นหัวใจของการอยู่รอดของวัฏจักรชีวิตทุกสายพันธุ์
แล้วเมื่อไรกันที่มนุษย์จะเรียนรู้ว่าอนาคตที่ปราศจากธรรมชาติ เราต่างก็เป็นฝ่ายปราชัยกันทั้งสิ้น
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ที่มา:
บทความ “Networking Nature How Technology Is Transforming Conservation” จาก foreignaffairs.com
บทสัมภาษณ์ “How the World Wildlife Fund Is Using Technology to Save Animals” จาก slate.com
nationalgeographic.com
worldwildlife.org
wwfgap.org