ประเภท : ซีเมนต์
ชื่อผู้ประกอบการ : กลุ่มวิจัยวัสดุชีวภาพอัจฉริยะและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเทศ : ไทย
วัสดุชีวภาพที่ใช้ทดแทนปูนซีเมนต์ ผลิตโดยการนำกากน้ำปลามาชะด้วยน้ำ และชั่งส่วนผสมของวัสดุประสาน (Binder) คือเถ้าลอย กากแคลเซียมคาร์ไบด์ และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และทรายทะเล ตามอัตราส่วนที่กำหนด หลังจากนั้นผสมวัสดุให้เข้ากัน แล้วจึงเติมน้ำชะกากน้ำปลา จะได้ bioslurry ที่พร้อมจะเทลงในแม่พิมพ์ โดยเทลง 1/3 ของปริมาตรของแม่พิมพ์ กระทุ้งเพื่ออัดเนื้อปูนให้แน่นและไล่ฟองอากาศ ทำซ้ำ 3 รอบ จนเต็มแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงถอดก้อนไบโอซีเมนต์จากแม่พิมพ์ แล้วบ่มในน้ำชะกากน้ำปลาเป็นเวลา 28 วัน คุณสมบัติของเนื้อปูนจะแตกต่างกันตามสภาวะแวดล้อม วัสดุนี้ทนทานต่อการกัดกร่อนของเกลือและสามารถซ่อมแซมตนเองได้ เมื่อเกิดรอยแตกขนาดจิ๋วขึ้นอยู่กับสภาวะที่จุลินทรีย์ในกากน้ำปลาเจริญเติบโต หากปิดรอยแตกใกล้ผิวจะมีผลึกสีขาวที่เกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนต เหมาะใช้สำหรับงานก่อสร้าง