สีเฟอร์โรแมกเนติก
สีเฟอร์โรแมกเนติกที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้มีสายตาบกพร่อง เป็นการใช้ประโยชน์จากขยะและวัสดุรีไซเคิลหลังการใช้งาน เพื่อสร้างพื้นผิวที่ทนทานและปล่อยคาร์บอนต่ำ สีชนิดนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กต่ำ ๆ ซึ่งมีความแรงใกล้เคียงกับบัตรเครดิต นำไปทาบนผิวคอนกรีตและไม้เพื่อช่วยการนำทาง เช่น การทาสีสัญลักษณ์นำทางบนคอนกรีตด้วยสีเฟอร์โรแมกเนติก ไม้เท้าของคนสายตาพิการที่มีแม่เหล็กฝังอยู่ก็สามารถตรวจจับเครื่องหมายเหล่านี้ได้ สีน้ำตาลเข้มที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่เพิ่มเข้ามาทำให้ผู้คนสามารถสังเกตและรับรู้ได้ไม่ว่าจะมีความสามารถการมองเห็นอยู่ในระดับใด สีเฟอร์โรแมกเนติกนี้ผลิตขึ้นจากแบตเตอรี่ชนิดซิงค์แมงกานีส (Mn-Zn) ที่ใช้แล้ว (ประกอบด้วยคาร์บอน 10% และเหล็กออกไซด์ 90%) หรือถ่านอัลคาไลน์ใช้แล้ว (มีคาร์บอน 20% และเหล็กออกไซด์ 80%) นำมาสกัดให้ได้สารออกฤทธิ์ Mn-Zn Ferrite ในกระบวนการชะล้างด้วยสารเคมีและการตกตะกอน โดยเซลล์ตั้งต้นจากแบตเตอรี่ที่ไม่มีประจุเหลืออยู่จะถูกละลายในกรดซัลฟูริกแล้วนำไปผสมกับเฟอร์รัสซัลเฟตให้กลายเป็นสารประกอบเฟอร์โรแมกเนติกซึ่งถูกทำให้เป็นกลางในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์แลเปล่อยให้เฟอร์โรแมกเนติกตกตะกอน สุดท้ายคือการนำผงเฟอร์โรแมกเนติกที่ตกตะกอนนี้ไปผสมในสีอะครีลิกและกวนให้เข้ากัน (8.019e-6 ถึง 2.327585e-5 ปอนด์ต่อออนซ์ของเหลว) ผิวที่แห้งแล้วหากได้รับการขัดถู ผงเฟอร์ไรต์จากซิงค์แมงกานีสจะหลุดออกซึ่งทำให้เกิดฝุ่นขึ้นเล็กน้อย คุณสมบัติของสีเฟอร์โรแมกเนติกขึ้นอยู่กับเซลล์ตั้งต้นของ Mn-Zn และผงแบตเตอรี่อัลคาไลน์ ผงเหล่านี้ไม่ละลายน้ำและสีเฟอร์โรแมกเนติกที่ได้จะทนต่ออุณหภูมิการใช้งานสูง เนื้อสีมีความทนทานต่อสารเคมีและทนน้ำได้พอประมาณ มีความทึบแสงและเหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง รวมถึงทางเท้าอัจฉริยะสำหรับผู้มีสายตาบกพร่อง
- ชื่อผู้ประกอบการ : BMT Research Group, Faculty of Science, KMUTT
- ประเทศ : ไทย
- ที่อยู่ : 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
- จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
- ติดต่อผู้ประกอบการ