พลาสติกชีวภาพจากกระดูกสัตว์
พลาสติกชีวภาพย่อยสลาย (Biodegradable plastic) จากเศษกระดูกก้างปลาและเศษกากถั่วแระญี่ปุ่นที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปของวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนาและวิสาหกิจชุมชนอาหารจากพืชปลอดภัย จ.ปทุมธานี เมื่อย่อยสลายจะกลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และมวลชีวภาพ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายทั้งด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภค ถ้วย ชาม ช้อน กล่องอาหาร ย่อยสลายได้ ด้านการเกษตร ผลิตเป็นแผ่นฟิล์มสำหรับคลุมดิน ป้องกันการเติบโตของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน ที่สามารถย่อยสลายได้เอง และด้านการแพทย์ โดยนำพลาสติกชีวภาพมาผลิตเป็นผิวหนังเทียม ไหมละลาย อุปกรณ์ประเภทสกรู และแผ่นดามกระดูกที่ฝังอยู่ในร่างกายที่สามารถย่อยสลายได้เอง
- ชื่อผู้ประกอบการ : ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประเทศ : ไทย
- ที่อยู่ : ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้น 1 อาคารชูชาติ กำภู เลขที่ 50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
- จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
- ติดต่อ : ผศ.ดร.วรวัชร วัฒนฐานะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ
- โทร : +(66) 090 986 3068
- เว็บไซต์ : https://www.mat.eng.ku.ac.th/
- ติดต่อผู้ประกอบการ