
Talk: “Green Ceramics and Construction Materials”
งานเสวนาที่นักออกแบบและนักวัสดุสายกรีนไม่ควรพลาด! ชวนสำรวจความก้าวหน้าในการพัฒนาเซรามิกและวัสดุก่อสร้างทางเลือกสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน โดยนักวิจัยและผู้ประกอบการด้านวัสดุชั้นนำ ที่งาน Talk: “Green Ceramics and Construction Materials” เสวนาเรื่อง “เซรามิกและวัสดุก่อสร้างทางเลือกสำหรับการสร้างสรรค์สายกรีน” วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 - 16.00 น. TCDC กรุงเทพฯ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M
ความหลากหลายของวัสดุทำให้นักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการมีทางเลือกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการทำการตลาดแบบยั่งยืน (Sustainable Marketing) ที่กำลังกลายเป็นรากฐานในการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ยุคใหม่ และข้อปฏิบัติทางธุรกิจจากกฎระเบียบของประเทศต่าง ๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นตามผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA สมาคมเซรามิกส์ไทย และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC ขอเชิญชวนมาสำรวจความก้าวหน้าในการพัฒนา “เซรามิกและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” จากกลุ่มผู้ประกอบการและนักวิจัย 5 ราย ที่ใช้แนวคิดด้านการสร้างความยั่งยืนเข้ามาเป็นโจทย์ในการพัฒนาวัสดุ เช่น การนำกลับมาใช้ใหม่ (Circular) การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พบกับวัสดุใหม่เพื่อเป็นทางเลือกของการสร้างสรรค์สายกรีน ในงาน Talk: “Green Ceramics and Construction Materials” ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 - 16.00 น. ณ TCDC กรุงเทพฯ ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น M อาคารส่วนหน้า
กำหนดการ
13.30 น. ลงทะเบียน
14.00 - 14.05 น. นายกสมาคมเซรามิกส์ไทย รศ.ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงาน
14.10 - 15.00 น. นักวิจัยและผู้ประกอบการ 5 รายแนะนำเรื่องวัสดุและการออกแบบในหัวข้อต่าง ๆ (คนละ 10 นาที)?
15.00 - 16.00 น. ถาม - ตอบ
(1) “จากวัสดุสู่การออกแบบ: แนวคิดการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของวัสดุก่อสร้างเพื่อการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน”
โดย คุณทัศนีย์วรรณ ชมอินทร์
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
การออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืนได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง แนวทางการปฏิบัติหนึ่งเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนของอาคาร คือการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอาคารโดยรวม เช่น วัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะช่วยให้ค่า Embodied Carbon (ค่าคาร์บอนที่แฝงอยู่ในวัสดุและผลิตภัณฑ์) ของอาคารลดลง, วัสดุที่ช่วยให้การใช้พลังงานและน้ำภายในอาคารมีประสิทธิภาพสูงสุด ฯลฯ มากกว่าแค่เรื่องฟังก์ชันและความสวยงาม การออกแบบควรมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนและข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของวัสดุก่อสร้าง เพื่อการนำข้อมูลดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
(2) “นวัตกรรมกระเบื้องเคลือบแก้ว ที่ผสานฟังก์ชัน ความงาม และความยั่งยืน”
โดย คุณบวรศักดิ์ ศุภทนต์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท Keratiles Ceramic จำกัด
Keratiles เป็นกระเบื้องเคลือบแก้วที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของกระเบื้องตกแต่งทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีการเคลือบแก้วขั้นสูงที่ช่วยเพิ่มความทนทานต่อรอยขีดข่วน คราบสกปรก และสารเคมี ทำให้ดูแลรักษาง่ายและเหมาะกับการใช้งานทั้งภายในและภายนอก พื้นผิวมีมิติ เงางาม และสะท้อนแสงได้อย่างเป็นธรรมชาติ สร้างบรรยากาศหรูหราและทันสมัย ขณะเดียวกัน Keratiles ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการผลิตที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรองรับการรีไซเคิลได้ จึงเป็นตัวเลือกที่ทั้งสวยงาม ฟังก์ชันครบ และส่งเสริมความยั่งยืน เหมาะสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบที่มองหาวัสดุตกแต่งที่มีเอกลักษณ์และสร้างสรรค์พื้นที่ให้โดดเด่นไม่ซ้ำใคร
(3) “ช้างแก้ว นวัตกรรมบล็อกแก้ว ที่ผสานดีไซน์หรูหราและความยั่งยืนเพื่อสถาปัตยกรรมยุคใหม่”
โดย คุณวีรยศ จุฬเกตุ
CEO, Bangkok Crystal Co., Ltd (ช้างแก้ว) และ Thai Patterned Glass Co., Ltd (TPG)
บล็อกแก้วตรา “ช้างแก้ว” จากบางกอกคริสตัล เป็นมากกว่าวัสดุก่อผนังทั่วไป แต่เป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉมการออกแบบสถาปัตยกรรม ด้วยกระบวนการผลิตขั้นสูงที่ทำให้บล็อกแก้วมีความโปร่งแสงอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยกระจายแสง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และสร้างมิติให้พื้นที่ดูโล่งโปร่ง หรูหราเหนือระดับ ดีไซน์ที่หลากหลายและพื้นผิวที่เปล่งประกายช่วยเพิ่มเอกลักษณ์ให้กับงานออกแบบ ทั้งยังมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทกและความชื้น ช่วยให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานยาวนาน นอกจากนี้ “ช้างแก้ว” ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการผลิตที่ลดของเสียและสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นตัวเลือกอัจฉริยะสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบที่ต้องการวัสดุก่อสร้างที่สวยงามและช่วยสร้างสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน
(4) “Coral Wall ผนังแห่งความใส่ใจ นวัตกรรมผนังรักษ์โลก ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทั้งฟังก์ชันการใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
โดย คุณสรภัสร์ เชิดเกียรติศักดิ์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท Compound Clay จำกัด
แผ่นผนัง Coral Wall ผนังแห่งความใส่ใจ คือวัสดุก่อสร้างที่ผสานประสิทธิภาพและความสวยงามเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าวัสดุทั่วไป แต่มีความแข็งแรงสูง รองรับน้ำหนักได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งโครงสร้างเสริม ช่วยลดต้นทุนและเวลาในการก่อสร้าง นอกจากนี้ Coral Wall ยังมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำต่ำมาก ทำให้ลดปัญหาการแตกร้าวและเชื้อรา ให้พื้นผิวเรียบเนียนและคงทนยาวนาน เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเศษวัสดุจากการตัดแต่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฝุ่นจากการติดตั้งไม่ฟุ้งกระจาย ลดผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ Coral Wall เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างยุคใหม่ที่ใส่ใจทั้งคุณภาพและความยั่งยืน
(5) “Seal Coat นวัตกรรมวัสดุซ่อมพื้นผิวจากของเหลือใช้ เพื่อความสวยงามและยั่งยืน”
โดย คุณชวิศ หาญพิทักษ์กุล
รองกรรมการผู้จัดการ (ฝ่ายปฏิบัติการ) บริษัท Asian Asphalt จำกัด
Seal Coat คือวัสดุเคลือบพื้นผิวที่ไม่เพียงช่วยคืนความใหม่ให้กับถนนและพื้นที่ใช้งาน แต่ยังเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำ “หินฝุ่น” ซึ่งเป็นของเหลือจากอุตสาหกรรมเหมืองมาใช้ ซึ่งช่วยลดของเสียและเพิ่มความแข็งแรงให้พื้นผิว ขณะเดียวกัน สีเข้มของ Seal Coat ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ความสะอาดและการบำรุงรักษาที่ดี พร้อมทั้งสามารถปรับแต่งด้วยเม็ดสีหรือสารสะท้อนความร้อนเพื่อลดอุณหภูมิพื้นผิว เพิ่มความปลอดภัย Seal Coat ไม่เพียงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังยืดอายุการใช้งานของพื้นผิว ลดมลพิษจากการซ่อมแซมขนาดใหญ่ และเสริมความเป็นระเบียบของพื้นที่เมือง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบที่มองหาวัสดุที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องฟังก์ชัน และช่วยขับเคลื่อนความยั่งยืนในการออกแบบอาคาร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้แล้ววันนี้ - 25 มีนาคม 2568 ที่
https://forms.gle/PVX4xKXQPFbv7xZD6
รับสมัครเพียง 80 ท่านเท่านั้น
เข้าร่วมกิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถจอดรถได้ที่อาคารจอดรถ NT บางรัก ในอัตรา 20 บาท/ชั่วโมง